เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เป็นแหล่งอาหารโปรตีน

เกษตรทฤษฎีใหม่ รายจ่ายลดรายได้เพิ่ม เติมความสุขเกษตรกร

Agri+

เกษตรทฤษฎีใหม่ รายจ่ายลดรายได้เพิ่มเติมความสุขเกษตรกร

เกษตรทฤษฎีใหม่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย จึงได้จัดทำโครงการ 5 ประสานสืบสาน “เกษตรทฤษฎีใหม่” ถวายในหลวงขึ้นเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาตั้งแต่ปี 60   โดยส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีความสมัครใจจาก 882 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 70,000 ราย และปี 61 วางเป้าเกษตรกรเข้าร่วมอีก 70,000 ราย โดยน้อมนำหลักทฤษฎีใหม่ไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกรตามภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่

เกษตรทฤษฎีใหม่ รายจ่ายลด รายได้เพิ่ม เติมความสุขเกษตรกร
เกษตรทฤษฎีใหม่
รายจ่ายลด รายได้เพิ่ม เติมความสุขเกษตรกร

“ลุงถนอม มณีแสง” วัย 67 ปี เกษตรกรตำบลหูช้าง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัย  นับเป็นอีกเกษตรกรต้นแบบที่สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่” ตามรอยในหลวง รัชกาลที่ 9  บนพื้นที่ 12 ไร่  ด้วยการปลูกพืชผสมผสานหลากหลาย  ทั้งกล้วย มะนาว ฝรั่ง ไม้ยืนต้นสร้างรายได้ให้ครอบครัวอย่างเป็นกอบเป็นกำ

ถนอมเล่าว่าเดิมที่ปลูกพืชล้มลุก เช่น ปลูกคะน้า ปลูกข้าวโพดกิน รายได้เดือนหนึ่งก็ประมาณ 4 – 5 พัน บาท ครอบครัวของลุงมี 2 คน ตายาย ตอนนั้นพอกินพอใช้ เพราะปลูกข้าวกินเอง   จากนั้นสมัครเข้าสู่โครงการทฤษฎีใหม่ของกรมวิชาการเกษตรในปี 2560 โดยหน่วยราชการได้นำพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์มาให้  อาทิ  นำไก่  เป็ด  ปลา ผัก มะพร้าว ให้พันธุ์พืช

เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เป็นแหล่งอาหารโปรตีน
เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เป็นแหล่งอาหารโปรตีน

การยึดแนวทางพ่อหลวงทำให้ตนและครอบครัวมีรายได้ดีขึ้น จากการปลูกพืชที่หลากหลาย  รายได้ก็เพิ่มขึ้น ต้นทุนลดลง  ตอนนี้สวนตนสามารถขายฝรั่งได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท รายได้เพิ่มขึ้น 1 เท่ายังไม่รวมถึงพืชผลอื่นๆ อีกหลายชนิด  นอกจากนี้ กรมฯยังเข้ามาอบรมการทำบัญชีครัวเรือนซึ่งทำให้เห็นค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน สามารถนำมาควบคุมต้นทุนได้ง่ายขึ้น   จะเห็นว่าถ้าค่าใช้จ่ายมากไปเราก็สามารถเซฟลงมาได้ ควบคุมต้นทุน

“การยึดแนวเกษตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ครอบครัวมีรายได้มั่นคงขึ้น ให้เราทำมาหากิน ทำให้รายได้เพิ่ม มีทั้งพืชระยะยาว และระยะสั้น มันสำปะหลัง คือ พืชระยะยาว ปลูกรวมๆ กันไป ฝรั่งขายได้กิโลกรัมละ 20 บาท พันธุ์กิมจู ถ้าขายส่งกิโลกรัมละ 10 บาท มันสำปะหลังประมาณ 6 ไร่ ที่ข้างๆ เค้าทำยังไม่ถึงฤดูเค้ากลัวเน่า ยังไม่ถึงฤดูที่จะเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังเราขายป้อนโรงงาน ตอนนี้ไม่ต้องวัดเปอร์เซ็นต์เค้าซื้อ 2,200 บาท ต่อ 1 ตัน ของลุงจำนวน 6 ไร่ได้ประมาณ 4 ตัน ต่อ 1011 เดือน”  ลุงถนอมกล่าว

เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เป็นแหล่งอาหารโปรตีน
เลี้ยงสุกร เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เป็นแหล่งอาหารโปรตีน

นายธนกร บัวสังข์ และ นางกมล บุญเกิด สองสามีภรรยาแห่งตำบลบ้านใหม่คลองเคียน  อำเภอบ้านไร่  จังหวัดอุทัยธานี  หันหนีชีวิตมนุษย์เงินเดือนจากหนุ่ม-สาวโรงงานกลับมาพลิกแผ่นดินบ้านเกิดบนพื้นที่ 7ไร่ทำฟาร์มเห็น ปลูกข้าวไรท์เบอร์รี่  เลี้ยงปลา เป็ด ไก่ผสมผสมกันอย่างลงตัว

ธนกรว่า เดิมเป็นหนุ่มสาวชาวโรงงานอยู่กรุงเทพ คิดไปคิดมาว่าระบบโรงงานเป็นอาชีพที่ไม่ยั่งยืนรายได้ 2คนรวมกัน 4หมื่นบาท    เลยตัดสินใจกลับบ้านเกิดหันมาทำเกษตร แต่ก่อนจะมาทำเกษตรก็ไปดูงานหลายๆที่ อ่างทอง สระบุรี ไปเห็นเค้าทำเห็ด การทำเห็ดไม่ต้องลงทุนเยอะ ลงทุนน้อย ร้อยสองร้อย ก็ทำได้ มันสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกอาทิตย์อาทิตย์หนึ่งเราก็มีเงินเข้าบ้าน จากนั้นหันมาเลี้ยงไก่ เป็ด ปลูกผักสำหรับกินในครัวเรือน เพื่อลด

ส่วนรายได้จากการปลูกเห็ดอาทิตย์หนึ่งก็สามารถเก็บผลผลิตได้อาทิตย์ละ 1 ครั้ง 1 เดือน เก็บผลผลิตได้ 4 ครั้ง  อาทิตย์หนึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 50 กิโลกรัม ดอกเห็ด ถ้าเราส่งอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 70 บาท 40 กิโลกรัม ก็เกือบ สามพันบาท รวมทั้งเดือนประมาณ 12,000 บาท

จากนั้นปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา ประมาณ 3,000 – 4,000 บาทต่ออาทิตย์ แต่ถ้าว่าต่อรอบที่ว่าเราลงทุนทำ ลงทุนก้อนเห็ดไปต่อ 1 รอบก็อยู่ที่ผลผลิตว่า สมมุติว่าก้อนเห็ด 1,000 ก้อน 1 รอบ ผลผลิตก็อยู่ประมาณ 500 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 70 บาท จำนวนเงิน 35,000 บาท เก็บผลผลิตอยู่ประมาณ 3 – 4 เดือนเห็ดจริงๆ ปลูกได้ 7 – 8 เดือน แต่เรารีบเร่งผลผลิตออกคือเราทำเห็ดอยากได้ความปลอดภัยจึงไปขอ GAP กับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 มีศูนย์จังหวัดสวพ.อุทัยธานี

สองสามี-ภรรยาเริ่มเข้าโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่”เมื่อ 60 ปีนี้ทำเป็นปีที่ 2  เราก็ปลูกผักที่เรากิน เราจะได้ไม่ต้องซื้อ ลดต้นทุนของเรา เราจะได้มีเงินเก็บ จากเมื่อก่อนไม่ได้เข้าระบบทฤษฎีใหม่เราก็ไม่รู้ เรามาทำแต่เห็ด เราก็ต้องซื้อทุกสิ่งทุกอย่าง พอพี่ๆ เค้าให้ความรู้ต้องปลูกโน่นนิดหนึ่ง ชะอมริมรั้วเราก็กินได้ ฝรั่ง พริก ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เลี้ยงปลาไม่ต้องเอาเงินไปซื้อปลามากิน เอาปลาในสระมากิน เลี้ยงเป็ดเราก็ได้ไข่ เราก็ไม่ต้องไปซื้อไข่ที่ตลาด มีผักเราก็เก็บ อย่างจะทำผัดกระเพรา เราก็ซื้อหมูอย่างเดียว พริกก็มี กระเพราก็มีแทบไม่ต้องซื้อกินจากตลาด ประหยัดลงมาก  รายจ่ายลดรายได้เพิ่มดีกว่าดีกว่าไปทำโรงงาน

“การยึดแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ชีวิตเราอยู่ดีมีสุข คือ ได้กินของที่ปลอดภัย ปลูกผักกินเองไม่ต้องซื้อแถมประหยัดเรื่องพลังงานไม่ต้องใช้ตู้เย็น   เพราะผลผลิตเก็บกินสดๆตลอดปี  ไม่มีการกักเหมือนตลาดทั่วไปตอนที่งานโรงงานมีเงินเดือนรวมกันประมาณ 40,000บาทก็จริง  แม้หันมาทำเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่รายได้รวมๆพอกันแต่มีความสุขกว่า ตอนนั้นเป็นรายได้เห็ดอย่างเดียว ตอนนี้มีทั้งเป็ด มีทั้งไข่ ตอนนี้รายได้รวมประมาณ 50,000 บาท รายจ่ายมีค่ารถอย่างเดียวมีประโยชน์มากทำให้คนไทยสามารถดำรณอยู่ได้อย่างยั่งยืน”  นายธนกร กล่าว

ทั้งหมด คือ แนวทางของพ่อหลวงรัฐกาลที่ 9 โดยมุ่งหวังจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ อันเกิดจากการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยการสร้างอาชีพอย่างเหมาะสมกับทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

“กรมวิชาการเกษตรได้ขับเคลื่อนโครงการ 5 ประสานสืบสาน“เกษตรทฤษฎีใหม่”ตั้งแต่ปี 60 โดยสนับสนุนให้เกษตรกรนำแนวทางทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร ในพื้นที่ของตนเองตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่ของเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือน และมีรายได้เสริม  ซึ่งจากผลดำเนินงานร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตเป็นแนวเกษตรทฤษฎีใหม่และสามารถลดรายจ่ายในในครัวเรือนร้อยละ 30 จากรายจ่ายเดิม” นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อว่า แผนงานในปี 61ได้วางเป้าพัฒนาแปลงสู่เกษตรทฤษฏีใหม่เต็มรูปแบบ  ทำให้เกษตรกรมีรายได้เสริม  ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภค นำมาแบ่งปันและนำไปขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย  และสามารถทำให้ “พอแบ่ง” ด้วยการขยายพื้นที่เพิ่ม  มีกิจกรรมที่หลากหลายขึ้นเพื่อผลผลิตจะได้เหลือแบ่งปันและมี “รายได้เสริม”หลังจากทฤษฏีในขั้นแรกจะมุ่งทำให้ “พอกิน” โดยการเปิดสมัครเกษตรกรที่มีความพร้อมที่ “ระเบิดจากข้างใน”  หรือเกษตรกรที่มีความตั้งใจจริงที่จะทำเกษตรกรทฤษฏีใหม่ด้วยตนเอง ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะทำหน้าที่ในการสนับสนุนปัจจัยในการผลิตควบคู่กับการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกร

“ในปี 61 กระทรวงเกษตรฯได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรกลางการปรับแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปปรับแนวคิดสร้างแรงจูงใจกับเกษตรกรในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ถูกต้องสามารถนำไปประยุกต์ตามแนวทางแต่ละขั้นได้  ประกอบด้วยวิชาแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เกษตรทฤษฎี   การลดต้นทุนการผลิต การลดรายจ่าย  การสร้างผลผลิตหรือสร้างรายได้  การจัดทำบัญชีครัวเรือน  บัญชีต้นทุนการผลิต เป็นต้น” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าว