คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร่วมกับซีพีเอฟ ทำวิจัยด้านการผลิตสุกร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร่วมกับซีพีเอฟ ทำวิจัยด้านการผลิตสุกร

PIG&PORK

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร่วมกับซีพีเอฟ ทำวิจัยด้านการผลิตสุกร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร่วมกับซีพีเอฟ ทำวิจัยด้านการผลิตสุกร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร่วมกับซีพีเอฟ ทำวิจัยด้านการผลิตสุกร

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ขวัญชาย เครือสุคนธ์ (ที่ 3 จากขวา) คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ นายสัตวแพทย์ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ (ที่ 3 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ร่วมลงนามความร่วมมือการทำวิจัยด้านการผลิตสุกร เพื่อพัฒนาสายพันธุ์สุกรคุณภาพสูงต่อไป ร่วมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.อนุชา สธนวงศ์ (ที่ 2 จากขวา) หัวหน้าโครงการวิจัยฯ คณาจารย์ และผู้บริหารของซีพีเอฟ ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ขวัญชาย เครือสุคนธ์ เปิดเผยว่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และซีพีเอฟ ร่วมลงนามความร่วมมือในการทำวิจัยสายพันธุ์สุกรพันธุ์แท้ ซึ่งถือเป็นความร่วมมืออันดีของสถาบันการศึกษากับภาคเอกชน ที่จะช่วยส่งเสริมการวิจัยในภาคปศุสัตว์ของไทยเกิดการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง และทางคณะฯมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาในครั้งนี้

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.อนุชา สธนวงศ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การได้รับทุนวิจัยจากซีพีเอฟนี้คณะผู้วิจัยจะใช้จ่ายเงินวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และภายหลังการวิจัยสำเร็จจะมีการประเมินคุณภาพผลงานด้วย เพื่อให้ผลการวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่าย

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร่วมกับซีพีเอฟ ทำวิจัยด้านการผลิตสุกร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร่วมกับซีพีเอฟ ทำวิจัยด้านการผลิตสุกร

ส่วน นายสัตวแพทย์ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์สัตว์เลี้ยง เพื่อให้ได้พันธุ์สัตว์ที่ให้ผลผลิตคุณภาพสูงและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค การมอบทุนวิจัยจำนวนกว่า 2.2 ล้านบาท สำหรับใช้ในการวิจัยตลอดระยะเวลา 2 ปี ในครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการวิจัยของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะก่อประโยชน์ให้กับภาคปศุสัตว์ของไทยในอนาคต