จิ้งหรีด แมลงเศรษฐกิจโลก

จิ้งหรีด แมลงเศรษฐกิจโลก

Livestock+

แมลงเศรษฐกิจโลก

แมลงเศรษฐกิจโลก
แมลงเศรษฐกิจโลก

จิ้งหรีด

ถามว่า ทำไมถึงให้ความสนใจ “จิ้งหรีด” หรือที่ภาษาถิ่นของทางภาคอีสานเรียกว่า “แมงสะดิ้ง” รู้แล้วต้องอึ้ง ว่าปัจจุบัน กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดที่มีเกษตรกรนิยมเลี้ยงจำหน่ายจำนวนมาก เพราะเป็นแมลงที่สามารถบริโภค มีคุณค่าทางอาหารสูงเทียบเท่ากับเนื้อปลาทู เนื้อไก่ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด และจิ้งหรีดเป็นแมลงกินพืชที่ปลอดภัยจากสารพิษ เป็นแมลงที่กินพืชไวต่อสารเคมี จึงเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่มีคุณภาพ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย และชาวเอเชียหลายประเทศ

“จิ้งหรีด เป็นแมลงเศรษฐกิจของไทยที่มีศักยภาพสูง มีการขยายตัวการผลิตในช่วงที่ผ่านมาอย่างมาก โดยสามารถทำรายได้มูลค่าเกือบ 1,000 ล้านบาท/ปี อีกทั้งยังเป็นสินค้าอาหารที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ราคาถูก ต้นทุนต่ำ และมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า อาทิ Snack food รสชาติต่างๆ ทั้งรสต้มยำ รสวาซาบิ และจิ้งหรีดชนิดโปรตีนผงเพื่อนำไป แปรรูปเป็นเค้ก และคุกกี้ เป็นต้น”

ปัจจุบันตลาดส่งออกให้ความสนใจ โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรปหรือ อียู มีความต้องการผลิตภัณฑ์แมลง โดยเฉพาะจิ้งหรีด ซึ่งจัดว่าเป็นแมลงเศรษฐกิจของไทย ที่มีมูลค่าการผลิตมากกว่า 65 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นสินค้าที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในสหภาพยุโรปและการยอมรับจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์กรอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง กระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้อย่างหลากหลายเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า และที่สำคัญ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่เกษตรกร และความมั่นคงทางอาหารของโลก

แต่การส่งออกสินค้าแมลงจากไทยไปสหภาพยุโรป ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดเงื่อนไข โดยเฉพาะมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิต หรือ GAP เกษตรกรที่สนใจตลาดส่งออกต้องเข้าสู่ระบบ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญของการผลิตสินค้า

"<yoastmark

ปัจจุบันเมืองไทยมีฟาร์มมากถึงประมาณ 20,000 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรนิยมเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมเนื่องจากใช้พื้นที่น้อย เลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่น้อย ใช้น้ำน้อย ใช้เงินลงทุนต่ำ สามารถเลี้ยงได้ทุกเพศทุกวัยทั้งเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับสังคมเกษตรกรรมของไทยในปัจจุบัน โดยจิ้งหรีดที่นิยมเลี้ยงเชิงพาณิชย์มี 3 สายพันธุ์ คือ สะดิ้ง ทองดำ และจิ้งหรีดขาว มีกำลังการผลิตสูงถึง 7,500 ตันต่อปี  แหล่งจำหน่ายใหญ่ คือ ตลาดโรงเกลือ และส่งโรงงานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดส่งออกไปยังตลาด สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น