Start-up เส้นทางธุรกิจใหม่ ใครๆ ก็เริ่มทำและสำเร็จได้

Start-up เส้นทางธุรกิจใหม่ ใครๆ ก็เริ่มทำและสำเร็จได้

NEWS

Start-up เส้นทางธุรกิจใหม่ ใครๆ ก็เริ่มทำและสำเร็จได้

โดย : น.สพ.กิตติ ทรัพย์ชูกุล

Dr Kitti Supshukul Start-up เส้นทางธุรกิจใหม่ ใครๆ ก็เริ่มทำและสำเร็จได้
Dr Kitti Supshukul Start-up เส้นทางธุรกิจใหม่ ใครๆ ก็เริ่มทำและสำเร็จได้

ถ้าได้ติดตามข่าวสารช่วงนี้ จะได้ยินคำว่า Startup บ่อยมาก ๆหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Startup คืออะไร เราจะเริ่มต้นยังไง แล้วเหมาะกับคนที่ทำนวัตกรรมและอยากเปิดธุรกิจของตัวเองมาก ๆ ครับ

Startup ใช้กับ บริษัทเปิดใหม่ที่มีดี แล้วมีคนสนใจอยากจะลงทุนด้วย เริ่มต้นจากวงการไอที เช่นที่ สหรัฐอเมริกา  เป็นแหล่งรวมตัวของบริษัทด้านไอที เพราะเติบโตเร็ว มียอดขายสูง ใน Silicon Valley มีผู้ที่สนใจเปิดบริษัทอยู่เยอะ และนักลงทุนก็เยอะด้วย

บริษัทดัง ๆ ระดับโลกหลายแห่งก็ผ่านการเป็น Startup มาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Google, Zynga รวมทั้งอาลีบาบา ที่จับมือกับ Yahoo

Startup ใช้ได้กับหลายธุรกิจ ที่เราเรียกว่า สตาร์ทอัพ เพราะสินค้าต้องใหม่ ต้องดี มีอนาคต มีนวัตกรรมและเปิดโอกาสให้คนนอกโดยเฉพาะนักลงทุน!มาลงทุนได้

“หลายคนอาจสงสัยว่า Startup เป็นธุรกิจเปิดใหม่ธรรมดา แล้วมันจะต่างอะไรกับ SME (Small and Medium Enterprise – วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง) ทำไมช่วงนี้คนถึงสนใจมาทำ Startup กันมาก”

“คำตอบ ครับ Startup เป็นธุรกิจที่วางแผนมาเพื่อเติบโตแบบก้าวกระโดด สร้างโอกาสให้กับตนเองตลอดเวลา แล้วเปิดตัวเพื่อหานักลงทุน เพื่อการพัฒนาต่อยอดงานให้ประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดด”

ธุรกิจ Startup อาจจะเริ่มที่การขอเงินตั้งแต่เริ่มคิด หรือทำไปสักพัก สุดท้ายเรามีผลิตภัณฑ์ดีๆ ออกมา เมื่อนักลงทุนสนใจเขาก็จะมีการคุยด้านผลประโยชน์  การแบ่งปันรายได้ ซึ่งแน่นอนโลกนี้ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆ นั่นคือ จากแนวคิดนี้ ต้องมีดี ต้องขายความคิด ขายนวัตกรรม ครับ

เป็นเวทีที่สมประโยชน์กัน โดยเราเป็นเจ้าของสินค้าที่ดี เราผลิตผลงานออกมา ต้องการขายได้ และมีรายได้ ส่วนนักลงทุนต้องการลงทุนในธุรกิจที่มีนวัตกรรม ขายดี มีโอกาสทำกำไรสูง เค้าก็จะได้สิทธิ์ในการแบ่งปันรายได้ หรือเป็นหุ้นส่วนในบริษัทไปด้วย  “สมประโยชน์ไปด้วยกัน”

นักลงทุน ก็มีหลายแบบครับ หลัก ๆ มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ Angel Investor กับ Venture Capital

นักลงทุนประเภท Angel Investor จะลงทุนแบบควักเนื้อตัวเองจ่าย ให้กับ Startup ที่เพิ่งเริ่มต้นถ้าเค้าเห็นว่าไอเดียนวัตกรรมของ Startup น่าสนใจ น่าลงทุน เค้าก็จะให้เงินเราเอาไปต่อยอดในการจ้างบุคลากร ซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อเอามาพัฒนาสินค้านวัตกรรมของเราให้เสร็จครับ

Angel Investor จะเป็นผู้ที่ยอมเสี่ยงในการลงทุน ยอมควักกระเป๋าตั้งแต่ช่วงที่ Startup ของเรายังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเงินลงทุนครั้งหนึ่งก็ขึ้นกับโครงการเป็นหลักแสน – ล้านบาทครับ ไม่ใช่น้อย ๆ เลย

Venture Capital นักลงทุนระดับเสี่ย นักลงทุนประเภท Venture Capital (VC) จะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งต่างกับ Angel Investor ตรงที่จะไม่ค่อยเสี่ยง แต่ถ้าเลือกลงทุนครั้งหนึ่งเค้าก็ทุ่มเงินให้ในระดับร้อยล้านเลยครับ และเขาจะประเมินโอกาสการทำกำไรและความคุ้มค่าในการลงทุน

โอกาสของคนทำนวัตกรรมเปิดกว้างครับ

“เราทำการเกษตร ก็ทำสตาร์ทอัพได้ครับ ทำได้ และทำได้แล้ว ประเทศเรามีธุรกิจแนวใหม่หลากหลายที่นักลงทุนสนใจ เรามีศักยภาพที่ดีกว่าต่างประเทศ มีการผลิต การเกษตร เทคโนโลยี เราสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง”

“ไม่ต้องกลัว เดินหน้าทำความฝันให้เป็นจริง”

“การทำ Startup คือ การยอมใช้ชีวิตไม่เหมือนคนทั่วไปสักช่วงหนึ่ง เมื่อทำสำเร็จงานนั้นจะมีประโยชน์มหาศาลต่อโลกและตัวเราเอง สบายไปเลย”

“Startup เป็นหนึ่งทางเลือกว่าเราจะก้าวกระโดด หรือสู้ด้วยลำแข้ง ทุกอย่างสำเร็จเหมือนกัน แต่การลงทุนและผลตอบแทนย่อมแตกต่างกัน เป็นธรรมดา”

เป็นทิศทางของธุรกิจแนวใหม่ และประเทศไทยมีศักยภาพที่ดีกว่าต่างประเทศ เรามีธุรกิจหลากหลาย มีการผลิต การเกษตร มีเทคโนโลยี เราสามารถใช้ประโยชน์จากแนวทางนี้โดยรวมคำว่า การสร้างนวัตกรรมสร้าง “สิ่งใหม่ + ตอบโจทย์+ มีอนาคต” และการทำสตาร์ทอัพในการบริหารจัดการ การลงทุนและขยายธุรกิจ

แล้วจะเริ่มอย่างไร ?

ต้องเริ่มที่ จุดแข็งเรา คือ มี นวัตกรรม ว่า เราทำอะไร เพื่ออะไร ที่ผมเรียกว่า โจทย์ต้องชัดก่อน

ต่อมาพัฒนาให้เป็นจริง โดยมีชิ้นงานขึ้นมา พัฒนาเป็นแผนธุรกิจ ต้องมีทีม ซึ่งนักลงทุนจะดูที่บุคลิกของผู้ประกอบการและวัฒนธรรมของทีมเราด้วย จากนั้นจะร่วมกันพัฒนาตามวัตถุประสงค์ที่ทั้งเราและนักลงทุนต้องการ เช่นทำสินค้าตัวอย่าง ที่ใช้ได้ดี มีตลาด เป็นเรื่องใหม่

น่าใช้ ใช้ได้ดี มีประโยชน์ ตลาดยอมรับ มีอนาคต

ความสำเร็จขั้นต้นเริ่มที่เราครับ

ต่อไปขึ้นกับผลงาน ไม่ต้องกลัวครับว่า งานนวัตกรรมจะล้มเหลว หากงานนั้นมีประโยชน์และใช้ได้จริง

สุดท้ายไม่ว่าจะเป็น Start up หรือ SME มันก็คือ ธุรกิจของเราครับ

ความสำเร็จของเรา คือ ผลงานเรา ด้วย “คุณสมบัติ 3 บวก คือ  สิ่งใหม่ + ตอบโจทย์ + มีอนาคต !!”

นวัตกรรมสร้าง “สิ่งใหม่ + ตอบโจทย์ + มีอนาคต”

และการทำสตาร์ทอัพ ในการบริหารจัดการ การลงทุนและขยายธุรกิจ ครับ.