เทคนิคการจัดการหมูอนุบาล ใน โรงเรือนระบบปิด

เทคนิคการจัดการหมูอนุบาล ใน โรงเรือนระบบปิด

PIG&PORK
เทคนิคการจัดการหมูอนุบาล ใน โรงเรือนระบบปิด
เทคนิคการจัดการหมูอนุบาล ใน โรงเรือนระบบปิด

เทคนิคการจัดการหมูอนุบาล ใน โรงเรือนระบบปิด

ในช่วง 10 – 15  ปี ที่ผ่านมานั้นในธุรกิจการเลี้ยงสุกรในบ้านเรานั้นมีการถกเถียงกันมากพอสมควรมากนักว่า  ประเทศเขตร้อนชื้นอย่างไทยเราควรเลี้ยงสุกรใน โรงเรือนระบบปิด (EVAP) แบบไหนดีระหว่าง  2 site  หรือ 3 site เพื่อให้ฟาร์มประสบความสำเร็จมากที่สุดและเหมาะสมกับศักยภาพของฟาร์มนั้นๆ  ซึ่งจริงแล้วก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มจะชอบแบบไหน และใช้ศักยภาพของระบบนั้นได้อย่างถูกต้องที่สุด

นายสัตวแพทย์นำชัย มินะสิงห์ (หมอเซ)
นายสัตวแพทย์นำชัย มินะสิงห์ (หมอเซ)

นายสัตวแพทย์นำชัย มินะสิงห์ (หมอเซ) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปรับปรุงการเลี้ยงการจัดการสุกรอนุบาลแบบโรงเรือนปิด (EVAP) ให้ประสบผลสำเร็จ ได้เปิดเผยกับนิตยสาร Pig and Pork (พิกแอนด์พอร์ค) ถึงความสำคัญในเรื่องนี้ว่า จากประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวกับการเลี้ยงการจัดการสุกรอนุบาลในระบบโรงเรือนปิด(EVAP) สมัยใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จะทำอย่างไรดีนั้น เริ่มต้นเราต้องมารู้จักและเข้าใจกับเรื่องของ ลูกสุกรอนุบาล โดยในนิยามของหมอเซ หมายถึง ลูกสุกรหย่านมที่มีการย้ายที่อยู่จากโรงเรือนคลอดที่มีการพักอยู่กับแม่สุกรมาจัดระเบียบใหม่  มารวมกับอยู่บ้านใหม่ เพื่อนใหม่ น้ำใหม่ อาหารใหม่  ทุกอย่างใหม่หมด

สุกรอนุบาลเหล่านั้นก็เหมือนเด็กที่เราต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก
สุกรอนุบาลเหล่านั้นก็เหมือนเด็กที่เราต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก

“สุกรอนุบาลเหล่านั้นก็เหมือนเด็กที่เราต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก  ให้เขาสามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ได้ดี และสามารถแสดงสักยภาพการเจริญเติมโตตามสายพันธุ์ นั้นได้ดี  ดังนั้น เราต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับการเลี้ยงการจัดการสุกรอนุบาลให้ดี และละเอียด” น.สพ.นำชัยกล่าว

ทุกท่านต้องคำนึงเสมอว่าในการเลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิด (EVAP) นั้น ควรใส่ใจอย่างยิ่งกับข้อแนะนำ ดังนี้

  1. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับสุกรอนุบาลหลังหย่านม1 สัปดาห์ เป็นที่สุดทั้งนี้เนื่องจาก สุกรอนุบาลสัปดาห์แรกนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญเติบโตของสุกร
  2. ทีมงานสัตวบาลและทีมที่ดูแล่วนอนุบาล ต้องมีความขยันมั่นเข้าโรงเรือนบ่อยๆ เน้นวิธีการกระตุ้นการกินได้
  3. จัดโปรแกรมการให้วัคซีน และเวชภัณฑ์ให้เหมาะสม และสอดคลองกับสุกรอนุบาล
  4. หัวใจสำคัญของการเลี้ยงสุกรในโรงเรือนปิด เราต้องรู้ค่าความต้องการต่างๆ ที่ถูกต้อง เหมาะสมและสอดคล้องกับสุกรอนุบาลในประเทศเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย

“โดยให้คำนึงไว้เสมอ ร้อนไม่กลัวกลัวชื้น ซึ่งตรงจุดนี้ผมให้ความสำคัญมาก เนื่องจากถูกถามมาเยอะ ว่าให้ช่วยแนะนำการแก้ไขปัญหาการตั้งค่าความต้องการต่างๆ ใน  EVAP  ที่เหมาะสมให้ฟาร์ม ที ขอเน้นย้ำ ว่าสุกรอนุบาลที่อายุระหว่าง 21-63 วัน  นั้น  ร้อนไม่กลัวกลัวชื้น  ที่เน้าตรงจุดนี้มาก เพราะ อยากให้ทุกท่านโปรดอย่าลืมว่า สุกรเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อและอาศัยการระบายความร้อนพื้นฐานโดยการหอบหายใจ แต่เราเลี้ยงสุกรเป็นสัตว์เศรษฐกิจในการบริโภคของมนุษย์ และเราเลี้ยงเขาในโรงเรือนหนึ่งๆ เป็นการเลี้ยงในช่วงอายุเดียวกันเป็นจำนวนมาก ประมาณ 600 – 1000 ตัว ดังนั้น การตั้งค่าอุณภูมิ ความเร็วลม  ความชื้น  ต้องตั้งค่าให้เหมาะสมกับช่วงอายุเป็นอย่างยิ่ง

สุกรอนุบาลเหล่านั้นก็เหมือนเด็กที่เราต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก
สุกรอนุบาลเหล่านั้นก็เหมือนเด็กที่เราต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก
สุกรอนุบาลเหล่านั้นก็เหมือนเด็กที่เราต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก
สุกรอนุบาลเหล่านั้นก็เหมือนเด็กที่เราต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก

“ผมขอเน้นย้ำว่า เราต้องดุแลสุกรอนุบาลในช่วง 4-9 สัปดาห์นี้ เหมือนกับการดูแลเด็กเล็กๆ ให้เขาพร้อมในสภาพต่าง อาทิ ร่างกายในส่วนต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร เมื่อเราดูแลลูกหมูของเราดีดี ลูกหมูเหล่านั้นก็จะเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ตามสายพันธุ์ยิ่งๆ ขึ้นไป” หมอเซกล่าว

หมู ใน โรงเรือนระบบปิด
หมู ใน โรงเรือนระบบปิด
โรงเรือนระบบปิด
โรงเรือนระบบปิด
เทคนิคการจัดการหมูอนุบาล
เทคนิคการจัดการหมูอนุบาล

Facebook แฟนเพจ Agri+ เกษตรพันธุ์ดี