ทางออกวิกฤตธุรกิจฟาร์มสุกร ด้วยหลักการโภชนศาสตร์

PIG&PORK

การแสวงหาทางออกสำหรับธุรกิจฟาร์มสุกรในปัจจุบัน ด้วยหลักการโภชนศาสตร์ และการปรับตัวเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด

ทีมวิจัยโภชนศาสตร์สุกร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศศวร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. วันดี ทาตระกูล ได้ร่วมมือกับ บริษัท เฟิร์สลี่เทค จำกัด, บริษัท ซีดีเอฟ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ร่วมกันจัดกิจกรรม สัมมนาวิชาการการเลี้ยงสุกร และเทคโนโลยีฟาร์ม

หัวข้อ “การจัดการโภชนะอย่างชาญฉลาด และการใช้เทคโนโลยีเพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน เพื่อแสวงหาทางออกสำหรับธุรกิจฟาร์มสุกรในปัจจุบัน ด้วยหลักการโภชนศาสตร์ และการปรับตัวเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด”

โดยได้รับทุนสนับสนุนจัดกิจกรรมส่งเสริมวิชาการ และผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย จากโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) ประจำปี พ.ศ. 2567 กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยี และนวัตกรรม (TED Fund) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

สำหรับกิจกรรมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 เป็นกิจกรรมครั้งที่ 1 จาก 5 ครั้ง โดยมี ว่าที่ร.ต.อดิศักดิ์ คงแก้ว และคุณจักรพันธ์ สาตุ้ม ในฐานะประธานจัดกิจกรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์จัดกิจกรรม ดังนี้

1.) เพื่อให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ คุณสมบัติ และการใช้งานของผลิตภัณฑ์ไฟโตแทนท์ (PHYTOTANT) ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยของหน่วยวิจัยโภชนศาสตร์สุกร พร้อมลงชื่อรับผลิตภัณฑ์นำไปทดสอบการใช้จริงเชิงอุตสาหกรรม

2.) เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้ใหม่ และหาแนวทางรอดต่อวิกฤตการณ์ของฟาร์มสุกรในปัจจุบัน

3.) เพื่อสร้างเครือข่ายอย่างบูรณาระหว่างภาครัฐ ฟาร์มสุกร และภาคเอกชน ต่อการส่งเสริม และการบริการวิชาการอย่างยั่งยืน

ภายในงานยังได้รับเกรียติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรม พร้อมทั้งแถลงข่าวเปิดกิจกรรม ซึ่งคณะผู้จัดกิจกรรมได้กำหนดจัดทั้งหมด 5 ครั้ง 5 พื้นที่ คณะผู้จัดกิจกรรมใคร่ขอชวนเชิญฟาร์มสุกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร. วันดี ทาตระกูล

ศาสตราจารย์ ดร.ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์

โดยมีรายละเอียดดังนี้
ครั้งที่ 1 จัดวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2566 จังหวัดพิษณุโลก ภาคเหนือตอนล่าง ผ่านความร่วมมือระหว่าง คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และ OTAP NU

ครั้งที่ 2 จัดวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2567 จังหวัดชลบุรี ภาคตะวันออก ผ่านความร่วมมือระหว่าง คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ และคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ จังหวัดชลบุรี และสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร จังหวัดชลบุรี

ครั้งที่ 3 จัดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 จังหวัดสุรินทร์ ภาคอีสาน ผ่านความร่วมมือระหว่าง คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

ครั้งที่ 4 จัดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนบน ผ่านความร่วมมือระหว่าง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ครั้งที่ 5 จัดวันที่ 9-10 มีนาคม พ.ศ. 2567 จังหวัดกาญจบุรี ภาคตะวันตก ณ รีสอร์ทในพื้นที่จังหวัดกาญจบุรี

จากการประชาสัมพันธ์หลายช่องทาง เช่น เพจเฟสบุ๊ค นวัตกรรมงานวิจัยสารเสริมในสัตว์แห่งอนาคต และแนวร่วมเพจทางด้านปศุสัตว์ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายจัดกิจกรรม ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุกร เจ้าของฟาร์มสุกร คณาจารย์ และนิสิตแต่ละมหาวิทยาลัยฯ

อีกทั้งได้รับเกรียติจาก ศาสตราจารย์ ดร. ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ โภชนศาสตร์ และการแสวงหาทางรอด สู่ความยั่งยืนธุรกิจฟาร์มสุกร

รวมถึง รองศาสตราจารย์ ดร.วันดี ทาตระกูล บรรยายพิเศษในหัวข้อ ผลงานวิจัยการใช้ Medium-chain fatty acids (MCFA) เป็นพลังงานเร่งด่วนสำหรับแม่ และลูกสุกร

ว่าที่ ร.ต. อดิศักดิ์ คงแก้ว นักวิจัยของทีมโภชนศาสตร์สุกร มหาวิทยาลัยนเรศวร บรรยายในหัวข้อ ผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์สารเสริมสำหรับลูกสุกรไฟโตแทนต์ (PHYTOTANT) ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความร่วมมือวิจัย และพัฒนานวัตกรรม ร่วมระว่าง บริษัท เฟิร์สลี่เทค จำกัด และบริษัท ซีดีเอฟ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด โดยเป็นส่วนหนึ่งของการประยุกต์ใช้ กรดไขมันสายกลาง กรดลอริกเข้มข้น & โมโนลอริน และสารสกัดสมุนไพร

กิจกรรมในครั้งนี้ยังได้รับ ความร่วมมือจากภาคเอกชน ร่วมจัดกิจกรรม แสดงสินค้า และเชิญชวนฟาร์มสุกรเข้าร่วม ประกอบด้วย บริษัท เว็ทอินเตอร์ บิสสิเนส จำกัด บรรยายหัวข้อ Smart farm by SoundTalks โดย สพ.ญ.นาถยา ยัง ผจก.ฝ่ายวิชาการสุกร บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด


บริษัท ไบโอ โกลบอล เทรดดิ้ง จำกัด บรรยายหัวข้อ นวัตกรรมอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิต: การจัดการปัญหา Oxidative stress-ในแม่พันธุ์สุกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในฟาร์มสุกร โดย น.สพ. วิโรจน์ ลักขณาสมบัติ ที่ปรึกษาวิชาการอาวุโส, Elanco ASIA บรรยายหัวข้อเทคโนโลยีการคัดเลือกพันธุ์สุกรจากค่า FCR ที่แม่นยำแบบรายตัวโดยใช้ อุปกรณ์ Pig Performance Tester (PPT) โดย คุณชัยวัฒน์ ยาจารย์ วิศวกรรม และผู้จัดการฝ่ายขาย จากกลุ่ม FREEDA-nedap และ หัวข้อบรรยาย การตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพด้านสีที่มีผลต่อคุณภาพเนื้อสัตว์ (Mini scan EZ) โดย คุณอุศนา โซ่ลาย ผู้จัดการฝ่ายขาย และนักวิชาการ เครือบริษัท คัลเลอ โกลโบล จำกัด

แต่ละหัวข้อบรรยายนั้นได้มุ่งเน้นถึงความยั่งยืน การประยุกต์นำเอาองค์ความรู้พื้นฐานทางด้านโภชนศาสตร์ และการปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต สำหรับศาสตราจารย์ ดร. ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ ได้กล่าวถึง การปรับตัว และให้ความสำคัญของโภชนศาสตร์ และการแสวงหาทางรอดสู่ความยั่งยืนธุรกิจฟาร์มสุกร

ซึ่งมีหัวข้อ อาหารสุกรกับนโยบายสุขภาพหนึ่งเดียวสำหรับสุกร (one health policy) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแนวคิดการแม่นยำเชิงวิชาการ และโภชนศาสตร์ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ความยั่งยืน (sustainability) ทั้งอาหาร การจัดการ การป้องกันโรค และการบริการต้นทุนอย่างชาญฉลาด

โดยเฉพาะการคำนวณสูตรอาหารแม่นยำ การใช้ค่ามาตรฐานการย่อยได้ที่ลำไส้เล็กส่วนปลาย (standardized ileal digestibility; SID) และ net energy เพื่อประสิทธิภาพฟาร์ม และ สูตรอาหารเพื่อ (Return on Investment; ROI) สูงสุด สำหรับการนำเสนอ ผลงานวิจัยการใช้ Medium-chain fatty acids (MCFA) เป็นพลังงานเร่งด่วนสำหรับแม่ และลูกสุกร โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วันดี ทาตระกูล ท่านอาจารย์ได้บรรยายถึงแผนงานวิจัย กว่า 10 ปี สำหรับการประยุกต์ใช้น้ำมันเมล็ดในปาล์ม (palm kernel oil; PKO) ซึ่งเป็นแหล่งของ MCFAs และกรดลอริก (Lauric Acid) เข้มข้นสูง มีคุณสมบัติสามารถดูดซึมผ่านได้เลยไม่ต้องใช้น้ำย่อยในระบบทางเดินอาหารผ่านระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เป็นพลังงานแบบเร่งด่วนสำหรับสุกรในสภาวะเปราะบาง และยังสามารถควบคุม และทำลายเชื่อแบคทีเรีย และไวรัส ในสุกรได้

ซึ่งได้สรุปผลงานทดลองทีได้ประยุกต์ใช้ PKO ในแม่สุกร ลูกสุกร และสุกรขุน ในรูปแบบที่แตกต่างจนเป็นผลิตภัณฑ์สารเสริมสำหรับสุกรได้ดี เช่น ไฟโตแทนต์ (PHYTOTANT) เป็นสารเสริมสำหรับสุกร เพื่อเป็นพลังงานเร่งด่วนสำหรับสุกรแรกคลอด ลดอัตราการตาย กระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับลูกสุกร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิตฟาร์ม และ

ไมโครแฟท พิกบูสเตอร์ ผลิตภัณฑ์ผงไมโครเอนแคปซูลน้ำมันกรดไขมันสายกลางเข้มข้น สำหรับแม่สุกรอุ้มท้องและเลี้ยงลูก มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มพลังงานให้แม่สุกรลดระยะเวลาคลอด ลดอัตราการตายของลูกสุกรแรกคลอด เพิ่มคุณภาพและปริมาณน้ำนมแม่สุกร และกระตุ้นภูมิคุ้มกันแม่และลูกสุกรแรกคลอด

QR สแกนเข้าร่วมสัมนนา โภชนศาสตร์และการแสวงหาทางรอดสู่ความยั่งยืนฟาร์มสุกร

กิจกรรมสัมมนาวิชาการ และเทคโนโลยีฟาร์ม เป็นกิจกรรมที่มีคุณภาพ ประจำปี พ.ศ. 2566 เพื่อแสวงหาทางออกสำหรับธุรกิจฟาร์มสุกรในปัจจุบัน ด้วยหลักการโภชนศาสตร์ และการปรับตัวเลือกใช้เทคโนโลยี ได้รับการสนับสนุนทุนจัดกิจกรรมจากหน่วยงานภาครัฐ และความร่วมมือจากนักวิจัย มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน เป็นอย่างดียิ่ง

อีกทั้งเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ฟาร์มสุกร และนิสิต แต่ละพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ต่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่สู่การปรับตัวให้สอดรับกับสภาวะวิกฤติราคาซื้อขายสุกรมีชีวิตตกต่ำ การรับมือจากสภาวะเศรษฐกิจ การลักลอบนำเขาเนื้อหมูผิดกฎหมาย ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น โรคระบาด และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยใช้ปรับประยุกต์ใช้ความแม่นยำของโภชนศาสตร์ต่อการประกอบสูตรอาหาร การประยุกต์ใช้กรดไขมันสายกลางจากน้ำมันเมล็ดในปาล์ม การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารเสริมสำหรับแม่ และลูกสุกร อย่างชาญฉลาด

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปรับปรุงสุขภาพสุกร และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคสำหรับฟาร์มสุกรได้อย่างยั่งยืน ร่วมด้วยการเลือกใช้เทคโนโลยีฟาร์มสมัยใหม่ และเครื่องมือตรวจสอบความแม่นย่ำสำหรับการเลี้ยงสุกร และผลิตภัณฑ์จากสุกร.

ผลิตภัณฑ์สารเสริมไฟโตแทนต์ (PHYTOTANT)