ธนาคาร ปุ๋ยอินทรีย์ ตอบโจทย์หนุนเกษตรกร

ธนาคาร ปุ๋ยอินทรีย์ ตอบโจทย์หนุนเกษตรกร

Agri+

โชว์ผลธนาคาร ปุ๋ยอินทรีย์ ตอบโจทย์หนุนเกษตรกร แปลงวัสดุเหลือใช้สู่ปุ๋ยหมัก-น้ำหมักชีวภาพ

ผลการติดตามโครงการธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2558 โดยมีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นเจ้าภาพหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีการผลิตและใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  ลด ละ เลิกการเผา ด้วยการนําเอาวัสดุเหลือใช้จากไร่นามาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นการลดต้นทุนในการผลิต อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรทําการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินการ ในความดูแลของสถานีพัฒนาที่ดินในแต่ละจังหวัด รวมถึงหน่วยงานภายในกรมพัฒนาที่ดินที่มีศักยภาพในการผลิตรวม 87 แห่ง โดยเน้นพื้นที่ของเกษตรกรหรือหมอดินอาสาหรือพื้นที่ที่สามารถใช้เป็นสถานที่ดําเนินการ

ธนาคาร ปุ๋ยอินทรีย์ ตอบโจทย์หนุนเกษตรกร
ธนาคาร ปุ๋ยอินทรีย์ ตอบโจทย์หนุนเกษตรกร

นางอัญชนา  ตราโช  รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ อะกรี พลัส ว่า การดำเนินโครงการฯ กรมพัฒนาที่ดินได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสอนวิธีการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ ให้แก่เกษตรกรที่รวมกลุ่มกันจัดตั้งขึ้นเป็นธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน โดยมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น มูลสัตว์ กากน้ำตาล ยูเรีย  ถังหมัก สารเร่ง พด. ปีละครั้ง หลังจากนั้นเกษตรกรก็จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์เองตามศักยภาพของกลุ่ม และเกษตรกรบางรายที่มีความสนใจจะนำความรู้ไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือน

ธนาคาร ปุ๋ยอินทรีย์ ตอบโจทย์หนุนเกษตรกร
ธนาคาร ปุ๋ยอินทรีย์ ตอบโจทย์หนุนเกษตรกร

จากการประเมินผลการดำเนินโครงการฯ ปี 2561 ของ สศก. พบว่า มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณ 3,000  ราย  ใน 77 จังหวัด โดยเกษตรกรประมาณ 1,500 ราย นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือน โดยผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง 1.5 ตัน/ครัวเรือน จากเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา อาทิ มูลสัตว์ ฟางข้าว แกลบ รำ ขี้เถ้า กากมัน ใบไม้ หญ้าแห้ง ซังข้าวโพด และสามารถผลิตน้ำหมักชีวภาพได้เฉลี่ย 300 ลิตร/ครัวเรือน จากเศษอาหาร เศษผัก ปลา หอยเชอรี่ และผลไม้  ทั้งนี้ สามารถคิดเป็นมูลค่าปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพรวมประมาณ 12,000 บาท/ครัวเรือน และคิดเป็นผลประโยชน์สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 7,517 บาท/ครัวเรือน

การทำปุ๋ยอินทรีย์
การทำปุ๋ยอินทรีย์

ในส่วนของเกษตรกรที่เหลืออีกประมาณ 1,500 ราย ที่ยังไม่มีการนำความรู้มาปรับใช้ เนื่องจากมีภารกิจมาก อายุมาก และขาดวัสดุที่จำเป็นในการผลิต เช่น มูลสัตว์ กากน้ำตาล และถังหมัก โดยหลังจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ มีแผนที่จะสนับสนุนให้ธนาคาร/สหกรณ์ต่างๆ ในพื้นที่ รวบรวมวัสดุที่จำเป็นข้างต้นมาจำหน่ายในราคาขายส่ง หรือให้เกษตรกรยืมโดยมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย

การทำปุ๋ยอินทรีย์
การทำปุ๋ยอินทรีย์

“เกษตรกรที่ผลิตปุ๋ยหมักใช้เองนั้นจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมโดยลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นาลงถึงเท่าตัว ซึ่งเป็นการลดมลพิษทางอากาศและลดภาวะโลกร้อน ทำให้สภาพแวดล้อมดี เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารในดิน ดินร่วนซุยมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า การทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือนทำให้รู้สึกปลอดภัยขึ้น เป็นผลดีต่อสุขภาพทั้งตัวเอง และผู้บริโภคอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนและให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรทุกรายเห็นประโยชน์และหันมาเริ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือนมากขึ้น” นางอัญชนากล่าว

การทำปุ๋ยอินทรีย์
การทำปุ๋ยอินทรีย์
การทำปุ๋ยอินทรีย์
การทำปุ๋ยอินทรีย์

การทำปุ๋ยอินทรีย์
การทำปุ๋ยอินทรีย์